th

ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการถึงแก่อสัญกรรมของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ประวัติพลเอก เปรม ติณสูลานนท์

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2463 ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเมื่อปี 2484 โรงเรียนทหารม้า และอีกหลายสถาบันรวมทั้งวิทยาลัยการทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 9

จากนั้นได้เข้ารับราชการทหารและร่วมรบในสงครามอินโดจีน รวมทั้งสงครามโลกครั้งที่สอง พลเอกเปรม เคยดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2 ผู้บัญชาการทหารบก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก่อนจะเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย และดำรงตำแหน่ง 3 วาระ ระหว่างปี 2523 – 2531 โดยหลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2531 ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธานองคมนตรี เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2541

 

 

ในช่วงที่ พลเอกเปรมดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้าเมื่อปี 2511 ท่านมักเรียกแทนตัวเองต่อผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าว่า “ป๋า” และเรียกผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าว่า “ลูก” จนเป็นที่มาของคำว่าป๋า หรือ ป๋าเปรม ขณะที่คนสนิทของ พลเอกเปรม มักถูกเรียกว่า ลูกป๋า นอกจากนี้ในขณะที่ พลเอกเปรม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็เคยได้รับฉายาว่า “เตมีย์ใบ้” จากบุคลิกความเป็นผู้ใหญ่ที่พูดน้อย

เปรม ติณสูลานนท์, ประธานองคมนตรี, รัฐบุรุษ, สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร, รัชกาลที่ 10, เตมีย์ใบ้Image copyrightEPA/ROYAL HOUSEHOLD BUREAU / HANDOUT

พลเอกเปรม ได้รับยกย่องว่ามีผลงานสำคัญในการผลักดันนโยบาย “การเมืองนำการทหาร” ซึ่งนำไปสู่การออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 กำหนดนโยบายและปรับท่าทีในการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ โดยมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้แปรพักตร์ ทำให้นักศึกษาที่หลบหนีเข้าป่าภายหลังเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 กลับออกจากป่า

พลเอกเปรม ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้มีบทบาททางการเมือง ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ.2548-2549 โดยในช่วงรัฐบาล “ทักษิณ ชินวัตร” พ.ศ.2549 ได้เกิดการรัฐประหารขึ้น

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.bbc.com/thai/thailand-38456402

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A1_%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C

Related Posts

Leave a Reply

ความเห็นล่าสุด

    ความเห็นล่าสุด